วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

รถ AGV


รถ AGV


รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที

รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ


รูป Batterry Chargers

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสามชิกในกลุ่มอุตสาหกรรม 56

รายชื่อสามชิก
  1.  อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชค     อ. ปาล์ม 
  2.  นาย กฤษกร   สุวรรณวงศ์    คุณเอฟ
  3.   นาย จตุพงค์   ณ สงขลา    คุณพงค์
  4. นาย จิรกิตต์   สุขเกษม         คุณบอย
  5. นาย จิรพงศ์   แจ่มศรี            คุณเอฟ
  6. นาย เชิดชาย   เรืองฤทธิ์       คุณชาย
  7. นาย ตวิษ   เพ็งศรี                 คุณบ่าว
  8.  นาย ธีรวุฒิ   ศรีสวัสดิ์           คุณวุฒิ
  9. นาย นพรัตน์   แก้วกำเนิด       คุณเอ็กซ์
  10. นาย นันทปรีชา   ปิยะ บุญสนอง  คุณโปร
  11. นาย นิรันดร์   เสมอพบ          คุณแบ
  12. นาย นิโรจน์   หวันปรัตน์        คุณซอล
  13. นาย ปภังกร   เอียดจุ้ย           คุณกิ๊ฟ
  14. นาย ปรินทร์   ผุดผ่อง            คุณบอล
  15. นาย พิชชากร  มีบัว               คุณกร
  16.  นาย พีระพงศ์   จันทร์ชู         คุณพงค์
  17. นายภ าคภูมิ   จุลนวล            คุณเจ
  18. นางสาว เยาวเรศ   ร่วมพรภาณุ  คุณโรส
  19.  นาย ร ชต   อารี                     คุณรอน
  20. นาย รุสดี   วาลี                       คุณซี
  21. นาย วงศธร   อินทมะโน         คุณหลวงบังหมีด    
  22. นาย วสุ   ราชสีห์                    คุณหนัง
  23. นาย วัชรินทร์   เขียนวารี        คุณปอนด์
  24. นาย วิฆเนศ   ณ  รังษี            คุณหมู
  25. นาย วิโรจน์   เหมมาน            คุณลิฟ
  26. นาย ศุภวัฒน์  ไชยของพรม   คุณรูส
  27. นาย สมประสงค์   วงศ์สุวรรณ  คุณทู
  28. นาย สมศักดิ์   มากเอียด        คุณกล้วย
  29. นาย สราวุฒิ   เกบหมีน          คุณซอล
  30. นาย สานิต   มิตสุวรรณ         คุณปอ
  31. นาย สุรเดช   สม่าแห             คุณยา
  32. นาย สุรศักดิ์   สะเกษ             คุณโจ้
  33. นาย เสะมาดี   ตูแวดาแม      คุณดี
  34. นาย อนิรุตต์   ภาระบุญ         คุณโต๋
  35. นาย อนุพงษ์   เทพพรหม      คุณทิว
  36. นาย อภิเดช   ทองอินทร์      คุณโหนด
  37. นาย อภิวัฒน์   เจิมขวัญ       คุณกุ้ง
  38. นาย อภิสิทธิ์   ยะโกบ          คุณดุล
  39. นาย อับดุลรอมัน   บูกา       คุณรอมัน
  40. นาย อับดุลเลาะ   กาโฮง      คุณกาโฮง
  41. นาย อาคม   เรืองกูล             คุณแบงค์
  42. นาย อาจณรงค์   ราชูภิมนต์  คุณมิค
  43. นาย อานนท์   นาควิเชียร      คุณนนท์
  44. นาย อาลียะ   สะอุ                 คุณฟาน
  45. นาย อาหามะซุบฮี   จะแน     คุณมะ
  46. นาย อิสมาแอ   มะยี              คุณ
  47. นาย กิติศักดิ์   ระบิงกำ           คุณ
  48. นาย เกรียงศักดิ์ บุญประเสริฐ   คุณเบียร์
  49. นาย พุฒิพงศ์ หนูนอง            คุณเพชร 
  50. นาย จตุรงค์ หิรัญกูล             คุณนิว

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus Network)

เครือข่ายแบบบัส (bus topology) 

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลา หนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก






   

   
       ข้อดี              ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงาน ของระบบโดยรวม


      
ข้อเสีย
ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหาข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของ สัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่ 3 บทความเทคโนโลยีสาระสนเทศ





 เทคโนโลยีสาระสนเทศ (4G)

 เทคโนโลยี 4จี ( Forth Generation ) กำลังเป็นกระแสที่คนไทยหลายๆ คนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจ แม้ตอนนี้บ้านเราจะอยู่ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี 3จี ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี 4จี ควบคู่กันไปด้วย
    เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี 3จี  จึงมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งานสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 Mbps – 1024 Mbps (1Gbps) หรือเร็วกว่าเทคโนโลยี 3จี มากถึง 7 เท่า สามารถเชื่อมต่อในรูปแบบ เสมือนจริงหรือ 3มิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง และสถานีฐานที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่ม สูงขึ้นถึง 100 Mbps เร็วกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถชมโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือพูดคุยผ่านระบบ Video Call ของโทรศัพท์ ได้อย่างคมชัด ไม่กระตุกหรือดีเลย์ สามารถส่งไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง รับชมการถ่ายทอดสด แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที บริการ cloud service  สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning, การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจพลิกวงการธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
    ปัจจุบันเทคโนโลยี 4จี มีการทดลองใช้แล้วในหลายประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ สำหรับไทยนั้นเพิ่งเริ่มมีการทดสอบโดยความร่วมมือของผู้ให้บริการเครือข่าย เอกชน กสทช. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นเพียงการทดสอบในเชิงเทคนิคชั่วคราว โดยมิได้แสวงหากำไรผ่านการเปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค พร้อมทั้งกลุ่มตัวอย่างของประชาชน นักเรียนนักศึกษา ได้ทำการทดสอบด้วย  ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทดสอบในครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย ที่เรียกได้ว่าปัจจุบันยังคงล้าหลังหลายๆ ประเทศอยู่มาก
"4G อีกก้าวของเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อคนไทย" นี้ เพราะ เทคโนโลยี 4จี กำลังเป็นกระแสที่คนไทยหลายๆ คนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจ แม้ตอนนี้บ้านเราจะอยู่ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี 3จี ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี 4จี ควบคู่กันไปด้วย

     เพื่อนๆบางคน รวมทั้งข้าพเจ้าเองอาจไม่รู้จักว่า 4จี คืออะไร 4จีเข้ามามีบทบาทอะไรในชีวิตประจำวันของเรา และเมื่อมี 4จีแล้ว คุณภาพชีวิตของเราจะดีขึ้นอย่างไร บทความบทความนี้สามารถตอบโจทย์ที่เราสงสัยไว้ในใจได้ครบถ้วน รวมถึงบอกครอบคลุมการทดลองใช้ทั้งในประเทศและนอกประเทศ

     บทความนี้แสดงให้เห็นวาคนไทยก็มีความกระตือรือร้นสนใจทางด้านเทคโนโลยีการ สื่อสารโดยเริ่มมีการทดสอบโดยความร่วมมือของผู้ให้บริการเครือข่าย เอกชน กสทช. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถึงแม้จะเป็นเพียงการทดสอบเชิง เทคนิคชั่วคราว ก็ยังเป็นความหวังอย่างยิ่งว่าการทดสอบครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย ที่เรียกได้ว่ายังคงล้าหลังหลายๆ ประเทศอยู่มาก


วิเคราะห์และสรุปประโยชน์ดังนี้


  1. สามารถ ตอบสนองการใช้งานสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 Mbps – 1024 Mbps (1Gbps) หรือเร็วกว่าเทคโนโลยี 3จี มากถึง 7 เท่า
  2.  สามารถเชื่อมต่อ ในรูปแบบ เสมือนจริงหรือ 3มิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง และสถานีฐานที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบ
    ไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่ม สูงขึ้นถึง 100 Mbps เร็วกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า
  3. สามารถชมโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือพูดคุยผ่านระบบ Video Call ของโทรศัพท์ ได้อย่างคมชัด ไม่กระตุกหรือดีเลย์
  4. สามารถส่งไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง รับชมการถ่ายทอดสด แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ต
  5. อบ แบบทันที บริการ cloud service  สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning, การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  6. อาจพลิกวงการธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต